วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

My Research

My Research

วิจัย
Improving reading skills using poem to teach English
ผลการใช้โคลงในการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่6
บทนำ

ภูมิหลัง
ทักษะการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนภาษาที่สอง การอ่านนั้นถูกใช้มากในอันดับที่สามรองจากการพูดและการฟัง การอ่านเป็นอีกหนึ่งทักษะที่มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จของเด็กๆ การอ่านในห้องเรียนถือเป็นเครื่องมือในการประเมินโดยมีครูเป็นตัวช่วยในการกำหนดระดับการอ่านและความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน (Ward.  2004  :  1) การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต ความสามารถในการอ่านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในอนาคตข้างหน้า ซึ่งมีความสำคัญ ต่อบุคคล สังคมและความเจริญทางเศรษฐกิจ ดังนั้นครูที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการอ่านจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้กลายเป็นผู้อ่านที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในอนาคต และการอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการถอดความ การวาดภาพตามจินตนาการ การใช้ภาษา และกลยุทธ์ในการให้ความหมายให้เกิดประสิทธิภาพ การอ่านจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถของบุคคล คือ การแสวงหาประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษาของแต่ละบุคคล (The reading faculty of the California State University.  2007  :  1-2)
            โคลงเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถอดความทางภาษา เมื่อเด็กอ่านโคลงแล้วสามารถทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับเด็กสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด ประโยชน์ของการใช้โคลงในห้องเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เน้นไปที่การอ่านออกเสียงของคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่เน้นไปที่การทำความเข้าใจกับความหมายของคำศัพท์ สิ่งที่สำคัญสำหรับการอ่านของเด็กๆ คือเน้นการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยแสดงให้เห็นว่าเด็กจะได้พัฒนาความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการอ่านโคลง การอ่านออกเสียงจากโคลงเป็นเรื่องที่ดีมากในด้านการพัฒนาทักษะการอ่านจากแรกเริ่ม ซึ่งต่อมา เด็กสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้เร็วขึ้นและสามารถอ่านออกเสียงได้ดังฟังชัด โดยครูจะเป็นผู้คอยชี้แนะเด็กในเรื่องของการจำแนกความแตกต่างของคำศัพท์และการจำแนกเสียงที่แตกต่างกันของคำแต่ละคำ เมื่อครูเล่าเรื่อง เด็กๆจะนึกถึงสิ่งที่ครูเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งจินตนาการเป็นภาพออกมา ซึ่งหนังสือโคลงสำหรับเด็กจะมีอยู่หลายรูปแบบ อาจมีทั้งเนื้อหาประกอบภาพ และมีเพียงเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่หนังสือโคลงไม่จำเป็นต้องมีภาพประกอบเพราะว่าเด็กจะสามารถอธิบายความหมายของโคลงนั้นๆและจินตนาการภาพเหตุการณ์ขึ้นเอง โคลงเป็นเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาจากคำศัพท์ ไม่ใช่การนำภาพมาเล่าเรื่อง แต่เป็นการสร้างภาพตามจินตนาการ เด็กจะได้ฝึกแปลความหมายจากคำศัพท์โดยไม่ต้องอาศัยรูปภาพที่บอกเป็นนัยจากเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเด็กๆจะสนใจในโคลงพร้อมๆกับพยายามทำความเข้าใจในความหมายของโคลงนั้นๆ (Fisher.  2000  :  3
ครูควรจะสนับสนุนให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และครูต้องให้ความสนใจในการนำเสนอผลงานของเด็กด้วย ซึ่งผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะหลายๆทักษะทางด้านการอ่าน โดยให้โอกาสเด็กในการกล้าแสดงออกด้วยความสนุกสนานถือเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสัทศาสตร์ การอ่านออกเสียง ความคล่องแคล่วในการอ่าน การศึกษาคำศัพท์ และ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโคลง ซึ่งโคลงถือเป็นรูปแบบของวรรณกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่าน โคลงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสอนคำศัพท์และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนเด็กประถม ครูแนะนำโคลงบทใหม่ๆ โดยการอ่านโคลงด้วยน้ำเสียงที่ดังฟังชัด และเว้นวรรคให้ถูกต้อง หลังจากนั้นเด็กทุกคนในชั้นเรียนอ่านออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกัน การอ่านออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันช่วยกระตุ้นและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน และสามารถลดความรู้สึกประหม่าในตัวเด็กได้ การอ่านประสานเสียงสามารถดำเนินการในชั้นเรียนหรือกับเด็กกลุ่มเล็กๆได้ อีกทั้งนักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและสามารถระบุประเภทของเครื่องหมายวรรคตอนได้ ยกตัวอย่างเช่น โคลง Sick โดย Shel  Silverstein เมื่อทำความเข้าใจในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในโคลงแล้ว เด็กจะสามารถอ่านโคลงได้คล่องแคล่งและเว้นวรรคได้อย่างถูกต้อง เมื่อนักเรียนได้ฝึกอ่านโคลงแล้ว นักเรียนสามารถออกมานำเสนอและแสดงออกเกี่ยวกับโคลงอย่างเหมาะสมหน้าชั้นเรียน เป้าหมายคือเพื่อทำให้เกิดความสนุกสนานพร้อมๆกับฝึกประสบการณ์ในขณะเรียน (Jennsimonson.  2011:   website)
ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยจึงเห็นว่าการนำโคลง มาเป็นเนื้อหาการสอนในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ภาษามากขึ้นซึ่งเป็นการเปิดกว้างทางการเรียนรู้ โดยภาษาที่ใช้ จะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ พัฒนาการออกเสียงและการแสดงออกทางภาษาโดยใช้การอ่านออกเสียง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน เมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจในบทเรียนที่ผ่านมา ผู้เรียนสามารถที่จะนำกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจในบทเรียนเดิมได้ตามความต้องการ จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงทำให้กลุ่มผู้วิจัยสนใจที่จะนำโคลงเข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้บรรลุตามความมุ่งหมายในการพัฒนาทักษะการอ่านให้ดีมากยิ่งขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.             เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 70/70
2.             เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.             เปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังโดยใช้
โคลง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ความสำคัญของการวิจัย          
    
1.              นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดย
ใช้โคลง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 เป็นสื่อเสริมและเป็นทางเลือกในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
2.              เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอนและผู้ที่มี
บทบาททางการศึกษาในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอื่นๆ อันเป็นการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่ผู้เรียน
3.              โคลงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษและเป็นแนวทางที่เป็น
ประโยชน์ต่อผู้วิจัย ครูผู้สอน และผู้ที่สนใจ เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และตรงตามความมุ่งหมายที่ต้องการ


ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
1.             ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน
จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2ห้องเรียน
2.    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนหนึ่งห้องเรียนนักเรียนจำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)
3.    ตัวแปรที่ศึกษา                                                                                                          
 3.1 ตัวแปรอิสระ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้โคลง
       3.2 ตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
4.   สมมติฐานในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเชียงยืน จะสามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นหลังจากใช้โคลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน
5.   ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 1 ภาคเรียนคือ ปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 4 เดือน เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ 2555
6.   เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
      เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เลือกจากหนังสือเรียนและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                6.1 Unit: Free Time
                        Topic: Poems
                        มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
           6.2 Unit:  Weather
                        Topic: Climate
                                มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                 6.3 Unit: Relationship with other people
                       Topic: Special day
                               มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.   โคลง คือ คําประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสกัน ซึ่งโคลงในภาษาอังกฤษนั้นจะมีสัมผัสนอกและสัมผัสในซึ่งเป็นการเล่นคำ โคลงในภาษาอังกฤษส่วนมากในหนึ่งบทจะมีอย่างน้อยสองบรรทัดหรือมากกว่าสองก็เป็นได้ โคลงจะใช้ภาษาที่สละสลวย อาจมีการใช้คำศัพท์ที่แทนความหมายของสิ่งๆหนึ่งซึ่งไม่ได้แปลความหมายตรงตัวหรืออาจมีความหมายแฝง อีกทั้งมีการใช้คำที่คล้องจองกัน เหมาะกับการฝึกทักษะการอ่าน โคลงที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่เรื่อง Shout , The tree in season , tNew Year Eve, Solar System.
2.   ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ คือ ความสามารถในการอ่านออกเสียงโคลงภาษาอังกฤษ การอ่านออกเสียงจะต้องมีน้ำเสียงที่ไพเราะ ชัดเจน มีการเว้นวรรคตอนถูกต้อง มีคุณลักษณะความมั่นใจในการใช้ภาษา มีลีลาการอ่านที่น่าสนใจและน่าติดตามฟังจนจบและบอกคำศัพท์ที่ออกเสียงคล้ายกันได้ และการอ่านโคลงเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเมื่ออ่านโคลงแล้วเด็กสามารถตอบคำถาม เรียงลำดับโคลง วาดภาพสื่อความหมายของโคลงหรือจะเป็นการแสดงบทบาทสมมุติเพื่อสื่อความหมายของโคลง เขียนสรุปและแต่งโคลงขึ้นใหม่ได้
2.1 ประสิทธิภาพการอ่าน หมายถึง การหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70
  70 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process) หาได้จากการนำคะแนนที่ได้จากคะแนนที่นักเรียนทำกิจกรรมระหว่างเรียนของนักเรียนในทุก Topic รวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ 70 หรือสูงกว่า 70
         70 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Product) หาได้จากการนำ
คะแนนที่ได้     จากผลแบบทดสอบทักษะการอ่านหลังเรียนของนักเรียนทุกคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ 70 หรือ สูงกว่า 70
2.2 ดัชนีประสิทธิผล หมายถึง กิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้โคลง หมายถึง คะแนนที่แสดงถึงความก้าวหน้าของนักเรียน ที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
วิธีการดำเนินการวิจัย

                   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถทางด้านทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 โรงเรียนบ้านเชียงยืน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                         1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
                         2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                         3. วิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
                         4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
                         5. การวิเคราะห์ข้อมูล
                         6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

                   การวิจัยครั้งนี้ กลุ่มผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
                         1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                                ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 คน 2 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
                                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา
2554 จำนวน 40 คน 1 ห้องเรียน โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
                         2. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
                                ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 4 เดือน เริ่มจาก เดือน พฤศจิกายน กุมภาพันธ์ 2555
                         3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
                                เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  กลุ่มผู้วิจัยพิจารณาจากหนังสือ  เอกสารประกอบการวิจัยและคู่มือการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2551 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                      3.1         Unit: Free Time
                                              Topic: Poems
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                      3.2         Unit:  Weather
                                              Topic: Climate
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                      3.3  Unit: Relationship with other people
                                              Topic: Special Day
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
                                      3.4  Unit: Science and Technology
                                              Topic: Solar System
                                              มีจำนวน 1 แผนการสอนใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                   กลุ่มผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด  
                         1.  เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 แผน ใช้เวลา แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง
                         2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ข้อสอบ มี 2 ชนิด คือ
                               2.1 ข้อสอบทดสอบทักษะการอ่านออกเสียง เป็นแบบทดสอบภาคปฏิบัติ
                                2.2 ข้อสอบทดสอบทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 33 ข้อ อัตนัย 6 ข้อ

การสร้างหาคุณภาพของเครื่องมือ

                   1.  การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังนี้
                         1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การอ่านภาษาอังกฤษ การสอนทักษะอ่านภาษาอังกฤษ โคลง และงานวิจัยต่างประเทศ
                         1.2 เลือกเนื้อหาจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ และคำศัพท์ที่สอดคล้องกับ Unit: Free Time Topic: Poems, Unit:  Weather Topic: Climate, Unit: Relationship with other people Topic: Special day, Unit: Science and Technology Topic: Solar System
                         1.3 วิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาตาม Unit/Topic ที่กำหนดไว้ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
                         1.4 สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 แผน
                         1.5 นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 แผน เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของจุดประสงค์ เนื้อหา การจัดกิจกรรม และความครอบคลุมหลักสูตร
                         1.6 แก้ไข ปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
                         1.7 นำแผนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุมเนื้อหา รูปแบบและหลักการอีกครั้งหนึ่ง
                         1.8 นำแผนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนบ้านเชียงยืน จำนวน 40 คน ซึ่งมีความสามารถใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง
                         1.9 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง
                         1.10 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านเชียงยืน
                               2. แบบทดสอบทักษะการอ่าน
                         2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลทักษะการอ่าน
                         2.2 สร้างแบบทดสอบทักษะการอ่านที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยสร้างแบบทดสอบการอ่านออกเสียงแบบปฏิบัติ และแบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจแบบปรนัยจำนวน 40 ข้อ
                         2.3 นำแบบทดสอบทักษะการอ่านที่กลุ่มผู้วิจัยสร้างขึ้น เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
                         2.4 นำแบบทดสอบทักษะการอ่านซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ ไปทดลองใช้ (Try-out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554   โรงเรียนบ้านเชียงยืน   อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน หลังจากทดลองแผนการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว และหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง
                         2.5 นำแบบทดสอบทักษะการอ่านที่หาค่าความยากง่ายได้แล้ว นำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน ทั้งก่อนและหลังการทดลอง

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ กลุ่มผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยดังนี้
                         1. สอบก่อนเรียน (Pre-Test) กับกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะการอ่านแบบปรนัย คำถามจำนวน 40 ข้อ และแบบทดสอบทักษะการอ่านภาคปฏิบัติ
                         2. ดำเนินการสอนตามแบบการเรียนรู้ที่ได้จัดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 แผน
แผนละ 2 ชั่วโมง
                         3. สอบหลังเรียน (Post-Test) เพื่อทดสอบความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากผ่าน
การเรียนมาแล้ว

การวิเคราะห์ข้อมูล
                    
                   การศึกษาวิจัยครั้งนี้  กลุ่มผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล  โดยดำเนินการจัดกระทำกับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
                         1. เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70
                         2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้โคลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                         3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนในการใช้โคลง เพื่อพัฒนาความสามารถด้านทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                1.  ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
                         1.1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สูตร ดังนี้
                                เมื่อ                  แทน    ค่าเฉลี่ย
                                                     แทน    ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
                                            N                แทน    จำนวนคนในกลุ่ม
                         1.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้สูตร

                                      S.D.2        =    
                  
                                เมื่อ     S.D.    แทน    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                            X         แทน    คะแนนแต่ละตัว
                            N         แทน    จำนวนคะแนนในกลุ่ม
                               แทน    ผลรวม

                   2.  สถิติในการหาคุณภาพเครื่องมือ
         การหาค่าสถิติในการหาคุณภาพของข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งออกเป็น
2 ชนิด ได้ดังนี้
                                2.1 ข้อสอบทดสอบการอ่านออกเสียง แบบทดสอบภาคปฏิบัติ
                                      2.1.1 การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านตามเกณฑ์ 75/75 ใช้สูตร E1/E2
ดังนี้

                                                =         

                            เมื่อ            คือ ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษ
                                            คือ คะแนนรวมของแบบทดสอบทุกแบบฝึกของผู้เรียนคนที่ i
                                            A   คือ คะแนนเต็มของแบบทดสอบแต่ละแบบฝึกมารวมกัน
                                            N   คือ จำนวนผู้เรียน

 =

                                เมื่อ    คือ ประสิทธิภาพของผลการสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
                                                          คือ คะแนนของผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียนคนที่ i
                                            B  คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
                                            N  คือ จำนวนผู้เรียน

                                      2.1.2 เปรียบเทียบทักษะอ่านออกเสียงก่อนและหลังเรียนในการใช้โคลง โดยใช้
                         สูตร t – test  Dependent  

                                      t     =   

                                      t                 หมายถึง   ค่า T- test
                                      N               หมายถึง   จำนวนนักเรียนในกลุ่มทดลอง
                                             หมายถึง   ผลรวมของผลต่างของคะแนนของนักเรียนแต่ละคน
                                          หมายถึง   ผลรวมของผลต่างของคะแนนของนักเรียนยกกำลัง
                                        หมายถึง   ผลรวมของผลต่างของคะแนนของนักเรียนทั้งหมดยกกำลัง

                                      2.1.3 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษภาคปฏิบัติ โดยใช้สูตร KR 20 ของ Kuder  Richardson

 


                                                               

  tt
 

                                                เมื่อ         r             แทน       ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

                                                                                แทน       จำนวนข้อของเครื่องมือวัด               

                                                                p              แทน       สัดส่วนของผู้ที่ตอบได้ในข้อหนึ่ง ๆ คือสัดส่วน
                                                                                                ของคนที่ตอบถูกกับคนทั้งหมด
2
 

                                                                q              แทน       สัดส่วนของคนตอบผิดในแต่ละข้อ คือ 1 - p

t
 

                                                               S           แทน คะแนนความแปรปรวนของเครื่องมือฉบับนั้น


                                2.2 ข้อสอบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบปรนัย
                                      2.2.1 ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย โดยใช้วิธีของ Brennam

                                     

                                เมื่อ     B         แทน   ค่าความยากง่ายของข้อสอบ
                            U          แทน   จำนวนคนทำข้อสอบข้อนั้นถูกของกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์
                            L          แทน   จำนวนคนทำข้อสอบข้อนั้นถูกของกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์
                            n1         แทน   จำนวนคนที่สอบผ่านเกณฑ์
                            n2         แทน   จำนวนคนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์
                       
                                      2.2.2 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบอิงเกณฑ์โดยใช้สูตรของแฮมเบิลตันและโนวิก ดังนี้

                                            P0   =   P11  +  P22

                                      เมื่อ      P0        แทน  ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

                                                  P11       แทน  สัดส่วนของผู้เรียนที่สอบผ่านก่อน-หลังเรียนกับ
                                                 จำนวนนักเรียนทั้งหมด
                                                  P22       แทน  สัดส่วนของผู้เรียนที่สอบผ่านก่อน-หลังเรียนกับ
                                                 จำนวนนักเรียนทั้งหมด

                                      2.2.3 การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1 และ E2 ดังนี้       

สูตร 1                   

                                เมื่อ     E1         แทน    ประสิทธิภาพของกระบวนการ
                แทน    คะแนนรวมของนักเรียนทั้งหมดที่ทำแบบทดสอบระหว่างเรียน
                            A         แทน    คะแนนเต็มของแบบทดสอบระหว่างเรียน
                            N         แทน    จำนวนนักเรียน

สูตร 2             

                                เมื่อ     E2        แทน    ประสิทธิภาพของกระบวนการ
                                แทน    คะแนนรวมของนักเรียนทั้งหมดที่ทำแบบทดสอบหลังเรียน
                                            B         แทน    คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน
                                            N         แทน    จำนวนนักเรียน

                                      2.2.4 การหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้สูตรของ กู๊ดแมน และ ชไนส์เดอร์

ดัชนีประสิทธิผล =   ผลรวมของคะแนนหลังเรียนทุกคน -   ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน                                                       (จำนวนนักเรียน × คะแนนเต็ม)  - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น